ม.ปลาย

 

 

 

 

 

 

 

เทคโนโลยีอวกาศ

 

การออกไปนอกโลกและความหมายของอวกาศ จรวด ดาวเทียม ยานอวกาศ สถานีอวกาศ

 

อวกาศ  คือที่ว่างนอกโลก นอกดวงดาว ดังนั้นจึงมีอวกาศระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ 

ระหว่างดาวฤกษ์และระหว่างเมืองของดาวฤกษ์

 

จรวด เป็นเครื่องยนต์พลังสูง   ที่สามารถเพิ่มความเร็วจนสามารถส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปโคจร

รอบโลกได้   ถ้าความเร็วของจรวดไม่สูงมากพอหัวจรวดจะตกกลับมายังผิวโลกคล้าย ๆ การเคลื่อนที่ของ ลูกกระสุนปืน

 

ดาวเทียม หมายถึงวัตถุที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก แปลมาจากคำว่า Satellite ซึ่งปกติแปลว่าดาวบริวาร 

ดาวเทียมดวงแรกที่ขึ้นไปโคจรรอบโลกคือสปุตนิค 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมของประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย ส่งขึ้นไปเมื่อ 4

ตุลาคม .. 2500 และดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐอเมริกาคือเอ็กพลอเรอร์ 1 ซึ่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.. 2501 

ปัจจุบันมีดาวเทียมหลายประเภทและทำหน้าที่ต่างๆ กัน  เช่น ดาวเทียมที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า

ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมที่ใช้สำรวจทรัพยากรโลกเรียกว่า ดาวเทียมสำรวจพิภพ   ดาวเทียมที่ถ่ายภาพและส่งข้อมูล

เกี่ยวกับเมฆ  ตลอดลมฟ้าอากาศ  เรียกว่า ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา นอกจากนี้ยังมี ดาวเทียมดาราศาสตร์ ที่ใช้สำรวจศึกษา

ดวงดาวอีกมากมาย

 

ยานอวกาศ  หมายถึงยานที่ออกไปนอกโลก โดยมีมนุษย์ขึ้นไปด้วยพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ สำหรับการ

สำรวจ หรือไม่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไป แต่มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จึงอาจแยกยานอวกาศออกเป็น 2

พวกคือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ขับคุม

ยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไปด้วย  ได้แก่ ยานอวกาศเมอร์คิวรี ส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไป

ครั้งละ 1 คน ยานอวกาศเจมินีส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 2 คน ยานอวกาศอะพอลโลส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปคราวละ

3 คน  ยานอวกาศอะพอลโล 11 เป็นยานอวกาศที่นำมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม

.. 2512   ยานขนส่งอวกาศสามารถนำมนุษย์อวกาศหลายคนและสัมภาระต่าง ๆ รวมทั้งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศแล้วนำ

นักบิน อวกาศกลับสู่พื้นโลกได้คล้ายเครื่องร่อน

ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์อวกาศขับคุมได้แก่ยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดาวดวงอื่น เช่น ยานเซอร์เวเยอร์ ซึ่งไปลง 

ดวงจันทร์ ยานไวกิงไปลงดาวอังคาร ยานกาลิเลโอไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ยานแมกเจลแลนสำรวจดาวศุกร์ ฯลฯ

 

สถานีอวกาศ  หมายถึงสถานีหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งเคลื่อนรอบโลก เช่น สถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย สถานีอวกาศ 

ฟรีดอมของสหรัฐอเมริกา โดยความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดาและรัสเซีย

การออกไปนอกโลก ความเร็วต่ำสุดที่จะพาดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกได้ต้องไม่ต่ำกว่า 7.91 

กิโลเมตร ต่อวินาที หรือ 28,476 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าออกไปเร็วมากกว่านี้ยานจะออกไปไกลจากผิวโลกมากขึ้น เช่น

ถ้าไปเร็วถึง 38,880 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะไปอยู่สูงถึง 35,880 กิโลเมตร และเคลื่อนรอบโลกรอบละ 24 ชั่วโมง เร็วเท่ากับ

การหมุนรอบตัวเองของโลก ดาวเทียมที่อยู่ในวงจรเช่นนี้จะอยู่ค้างฟ้า ณ ที่เดิมตลอด 24 ชั่วโมง

 

ดาวเทียม ดาวเทียมที่ขึ้นไปโคจรรอบโลกมีมากมาย  แบ่งชนิดออกเป็น ดาวเทียมสื่อสาร  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา   

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ  เป็นต้น

ลักษณะและสมบัติของดาวเทียมแต่ละประเภท

1. ดาวเทียมดาราศาสตร์ 

 ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ไว้เพื่อส่องดูดวงดาวต่าง ๆ  สหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมชุด  ชื่อ โอเอโอ 

มวล  2,500  กิโลกรัม  ติดกล้อง  11  กล้อง  ส่งเมื่อปี  ..  2515  เป็นดวงแรก  โคจรสูง 1,000 

กิโลเมตร ติดตามด้วยดาวเทียมชุดชื่อ  เอสเอเอส  ศึกษารังสีเอกซ์ในอวกาศ

2. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

ติดตั้งกล้องอินฟราเรต  กล้องโทรทัศน์  ศึกษาพายุ  กลุ่มเมฆ  และอุณหภูมิ เพื่อส่งข้อมูลเป็น 

สัญญาณคลื่นวิทยุลงมายังสถานีรับบนพื้นโลก  เช่น  ดาวเทียมโนอา  และจีเอ็มเอ

3.  ดาวเทียมสำรวจอวกาศ

ศึกษารังสีสนามแม่เหล็ก  อุกกาบาต  เช่น  ดาวเทียม  ไอเอ็มพี  เอกซ์พลอเรอร์

4. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ  

ให้ข้อมูลธรณีวิทยา  ป่าไม้  ทรัพยากร  และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดบนโลก  เช่น  ดาวเทียมซีเซท  

และเลนด์แซท  หรือดาวเทียมอีอาร์ทีเอส  (ERTS)  ติดกล้องอินฟราเรต  และกล้องโทรทัศน์

5. ดาวเทียมสื่อสาร  

ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดคลื่นไมโครเวฟ  โดยสถานีแห่งหนึ่งบนพื้นโลกส่งคลื่นดังกล่าวขึ้น 

ไปยังดาวเทียม  ดาวเทียมจะส่งสัญญาณไปยังสถานีอีกแห่ง  ส่งสัญญาณวิทยุ  โทรทัศน์  โทรศัพท์  โทรพิมพ์  

ทำให้ข่าวสารกระจายไปทั่วโลก  เช่น  ดาวเทียมรีเลย์  เทลสตาร์  ซินคอม  เออรีเบอร์ด  เป็นต้น

6.  ดาวเทียมนำร่อง

 ใช้ประโยชน์ในการเดินเรื และคมนาคมทางอากาศ  ในภาวะทัศนะวิสัยไม่ดี  เช่น  หมอกลงจัด 

เรือเดินสมุทรและเครื่องบินอาจประสบปัญหาการหาตำแหน่งและทิศทาง ดาวเทียมนำร่องจำช่องบอกตำแหน่งให้ได้

7.  ดาวเทียมทหาร  

ทำหน้าที่ทางทหาร  รายงานการทหารและสงคราม  ดาวเทียมชื่อ  ซามอส  ถ่ายภาพที่ตั้งทาง 

ทหาร ดาวเทียมมิดาส  ตรวจหาตำแหน่งที่ยิงขีปนาวุธ  ดาวเทียมวีลาตรวจการทดลองระเบิดนิวเคลียร์  

ดาวเทียมประเภทนี้บางดวงก็เป็นความลับทางการทหาร  ซึ่งยังไม่เปิดเผยข้อมูล  และลักษณะสมบัติในการทำงาน

 

ดาวเทียมไทยคม  เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของไทยซึ่งออกแบบโดยบริษัทฮิวจ์แอร์คราฟท์ สหรัฐอเมริกา 

ส่งขึ้นสู่อวกาศโดยอาศัยจรวดอารีอานขององค์การอวกาศยุโรปที่เฟรนกิอานา  เมื่อวันที่  17  ธันวาคม  2536 มีลักษณะ 

เป็นรูปทรวงกระบอกรุ่น  HS  -  376   ดาวเทียมไทยคมขึ้นไปอยู่เหนือละจิจูด 7องศาเหนือและลองจิจูด 78.5 องศา

ตะวันออก

ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคมคือช่วยการสื่อสารภายในประเทศในเรื่องโทรศัพท์  การถ่ายทอดโทรทัศน์

โทรสาร โทรพิมพ์ โดยไม่ต้องเช่าดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย สถานีภาคพื้นดินส่งสัญญาณขึ้นสู่ดาวเทียมอยู่ที่

์ ถนนรัตนาธิเบศร  อ.เมือง จ.นนทบุรี