![]() |
|||||||||||||
|
เทคโนโลยีอวกาศ
http://www.darasart.com/
อวกาศ คือที่ว่างนอกโลก นอกดวงดาว ดังนั้นจึงมีอวกาศระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ระหว่างดาวฤกษ์กับดาวฤกษ์
http://www.thaigoodview.com/
จรวด เป็นเครื่องยนต์พลังสูงที่สามารถเพิ่มความเร็วจนสามารถส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปโคจร รอบโลกได้ ถ้าความเร็วของจรวดไม่สูงมากพอหัวจรวดจะตกกลับมายังผิวโลกคล้าย ๆ การเคลื่อนที่ของ ลูกกระสุนปืน
http://www.space.mict.go.th/
ดาวเทียม หมายถึงวัตถุที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก แปลมาจากคำว่า Satellite ซึ่งปกติแปลว่าดาวบริวาร ดาวเทียมดวงแรกที่ขึ้นไปโคจรรอบโลกคือสปุตนิค 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมของประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย ส่งขึ้นไปเมื่อ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 และดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐอเมริกาคือเอ็กพลอเรอร์ 1 ซึ่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2501 ปัจจุบันมีดาวเทียมหลายประเภทและทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น ดาวเทียมที่ ใช้ประโยชน์ ในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมที่ใช้สำรวจทรัพยากรโลกเรียกว่า ดาวเทียมสำรวจพิภพ ดาวเทียมที่ถ่ายภาพและส่งข้อมูลเกี่ยวกับเมฆ ตลอดลมฟ้าอากาศ เรียกว่า ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา นอกจากนี้ยังมี ดาวเทียมดาราศาสตร์ ที่ใช้สำรวจศึกษาดวงดาวอีกมากมาย
http://www.thaigoodview.com/
ยานอวกาศ
หมายถึงยานที่ออกไปนอกโลก
โดยมีมนุษย์ขึ้นไปด้วยพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์
สำหรับการสำรวจหรือไม่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไป
แต่มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
จึงอาจแยกยานอวกาศออกเป็น 2 พวกคือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม
และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ขับคุม ยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไปด้วยได้แก่ ยานอวกาศเมอร์คิวรี ส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 1 คน ยานอวกาศเจมินีส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 2 คน ยานอวกาศอะพอลโลส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปคราวละ 3 คน ยานอวกาศ อะพอลโล 11 เป็นยานอวกาศที่นำมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ยานขนส่งอวกาศสามารถนำมนุษย์อวกาศหลายคนและสัมภาระต่าง ๆ รวมทั้งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ แล้วนำนักบินอวกาศกลับสู่พื้นโลกได้คล้ายเครื่องร่อน ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์อวกาศขับคุมได้แก่ยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดาวดวงอื่น เช่น ยานเซอร์เวเยอร์ ซึ่งไปลงดวงจันทร์ ยานไวกิงไปลงดาวอังคาร ยานกาลิเลโอไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ยานแมกเจลแลนสำรวจดาวศุกร์ ฯลฯ
http://www.darasart.com/
สถานีอวกาศ หมายถึงสถานีหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งเคลื่อนรอบโลก เช่น สถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย สถานีอวกาศฟรีดอมของสหรัฐอเมริกา โดยความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดาและรัสเซีย
การออกไปนอกโลก
ความเร็วต่ำสุดที่จะพาดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกได้ต้องไม่ต่ำกว่า
7.91 กิโลเมตร ต่อวินาที หรือ 28,476 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ถ้าออกไปเร็วมากกว่านี้ยานจะออกไปไกลจากผิวโลกมากขึ้น เช่น ถ้าไปเร็วถึง
38,880 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะไปอยู่สูงถึง 35,880 กิโลเมตร
และเคลื่อนรอบโลกรอบละ 24 ชั่วโมง เร็วเท่ากับการหมุนรอบตัวเองของโลก
ดาวเทียมที่อยู่ในวงจรเช่นนี้จะอยู่ค้างฟ้า ณ ที่เดิมตลอด 24 ชั่วโมง
1.
ดาวเทียมดาราศาสตร์ ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ไว้เพื่อส่องดูดวงดาวต่าง ๆ
สหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมชุดชื่อ โอเอโอมวล 2,500 กิโลกรัม ติดกล้อง 11
กล้อง ส่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นดวงแรก โคจรสูง 1,000 กิโลเมตร
2.
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ติดตั้งกล้องอินฟราเรต กล้องโทรทัศน์
ศึกษาพายุ กลุ่มเมฆ และอุณหภูมิ
เพื่อส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่นวิทยุลงมายังสถานีรับบนพื้นโลก เช่น
ดาวเทียมโนอา และจีเอ็มเอ 3. ดาวเทียมสำรวจอวกาศ ศึกษารังสีสนามแม่เหล็ก อุกกาบาต เช่น ดาวเทียม ไอเอ็มพี เอกซ์พลอเรอร์
4. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ให้ข้อมูลธรณีวิทยา ป่าไม้ ทรัพยากร และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดบนโลก เช่น ดาวเทียมซีเซท และ เลนด์แซท หรือดาวเทียมอีอาร์ทีเอส (ERTS) ติดกล้องอินฟราเรต และกล้องโทรทัศน์
5.
ดาวเทียมสื่อสาร ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดคลื่นไมโครเวฟ
โดยสถานีแห่งหนึ่งบนพื้นโลกส่งคลื่นดังกล่าวขึ้นไปยัง ดาวเทียม
ดาวเทียมจะส่งสัญญาณไปยังสถานีอีกแห่ง ส่งสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์
โทรพิมพ์ ทำให้ ข่าวสารกระจายไปทั่วโลก เช่น ดาวเทียมรีเลย์ เทลสตาร์
ซินคอม เออรีเบอร์ด เป็นต้น 6. ดาวเทียมนำร่อง ใช้ประโยชน์ในการเดินเรือและคมนาคมทางอากาศในภาวะทัศนะวิสัยไม่ดี เช่น หมอกลงจัด เรือเดินสมุทรและเครื่องบินอาจประสบปัญหาการหาตำแหน่งและทิศทาง ดาวเทียมนำร่องจำช่องบอกตำแหน่งให้ได้
7.
ดาวเทียมทหาร ทำหน้าที่ทางทหาร รายงานการทหารและสงคราม ดาวเทียมชื่อ
ซามอส ถ่ายภาพ ที่ตั้งทางทหาร ดาวเทียมมิดาส ตรวจหาตำแหน่งที่ยิงขีปนาวุธ
ดาวเทียมวีลาตรวจการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
ดาวเทียมประเภทนี้บางดวงก็เป็นความลับทางการทหาร ซึ่งยังไม่เปิดเผยข้อมูล
และลักษณะสมบัติในการทำงาน
1. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง (Refractor)
http://www.lesaproject.com/
กล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้เป็นกล้องแบบพื้นฐาน
เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายพบเห็นโดยทั่วไป ส่วนมากมีขนาดเล็ก ลำกล้องยาว
เหมาะสำหรับใช้สังเกตการณ์พื้นผิวดวงจันทร์และดาวเคราะห์
เนื่องจากใช้เลนส์จึงให้คุณภาพคมชัด แต่อาจมีความคลาดสี
เมื่อส่องดูดาวที่สว่าง ถ้าคุณภาพของเลนส์ไม่ดีพอ
กล้องที่มีความยาวโฟกัสมากเหมาะสำหรับใช้สังเกตการณ์ในเมือง
หรือที่มีแสงรบกวน เพราะความยาวโฟกัสจะช่วยให้ลดแสงสะท้อนของ
มลพิษบนท้องฟ้า แต่ก็ทำให้ฟิล์มของภาพแคบด้วย กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสงโดยทั่วไป ไม่เหมาะกับการสังเกตการณ์กาแล๊กซี หรือ เนบิวลา เนื่องจากเทห์วัตถุประเภทนี้ มีความสว่างน้อย จำเป็นต้องใช้กำลังรวมแสงสูง เลนส์ขนาดใหญ่มีราคาแพงมาก ประกอบกับความยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น ทำให้ลำกล้องยาวมาก และมีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกต่อการใช้งาน
2. กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง (Reflector)
http://www.lesaproject.com/
กล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้ถูกคิดค้นโดย "เซอร์ ไอแซค นิวตัน"
จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "กล้องโทรทรรศน์นิวโทเนียน"
กล้องชนิดนี้ใช้กระจกเว้าแทนเลนส์นูน ทำให้มีราคาประหยัด
กระจกขนาดใหญ่ให้กำลังรวมแสงสูง จึงเหมาะสำหรับใช้สังเกตการณ์ เทห์วัตถุที่ไม่สว่างและอยู่ไกล
เช่น เนบิวลา และ กาแล็กซี่
ถ้าเทียบกับกล้องชนิดหักเหแสงซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันแล้ว
กล้องนิวโทเนียนจะมีราคาถูกกว่าประมาณสองเท่า อย่างไรก็ตาม กล้องนิวโทเนียนมีกระจกทุติยภูมิ ตรงปากลำกล้อง เพื่อสะท้อนแสงฉากขึ้นสู่เลนส์ตา ซึ่งอยู่ข้างลำกล้อง จึงเป็นอุปสรรคขวางทางเดินของลำแสง (ซึ่งถ้าเทียบกับกล้องชนิดหักเหแสงที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันแล้ว กล้องชนิดหักเหแสงจะให้ภาพสว่างและคมชัดกว่า) และเช่นเดียวกับกล้องชนิดหักเหแสง ยิ่งใช้กระจกขนาดใหญ่และมีความยาวโฟกัสมากขึ้น ลำกล้องก็จะต้องใหญ่โต และมีน้ำหนักมาก
3. กล้องโทรทรรศน์ชนิดผสม (Catadioptic)
http://www.lesaproject.com/
กล้องโทรทรรศน์แบบผสม แบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ หลายชนิด อาทิเช่น ชมิดท์-แคสสิเกรนส์,
มักซูตอฟ-แคสสิเกรนส์ ซึ่งแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบทางทัศนูปกรณ์
ซึ่งอาจใช้เลนส์หรือกระจกผสมกัน แต่โดยหลักการโดยรวมแล้ว จะใช้กระจก 2
ชุด สะท้อนแสงกลับ ไป-มา ช่วยให้ลำกล้องสั้น และน้ำหนักเบา เราจะพบว่า
กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีความยาวโฟกัสมาก ดังเช่น
กล้องโทรทรรศน์บนหอดูดาว มักจะเป็นกล้องชนิดนี้
ขาตั้งกล้องโทรทรรศน์ แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. ขาตั้งชนิดอัลตาซิมุธ (Altazimuth Mount) เป็นขาตั้งแบบพื้นฐาน ซึ่งหันกล้องได้ ๒ แกน คือ หันตามแนวราบทางข้าง และกระดกขึ้นลงในแนวดิ่ง ขากล้องชนิดนี้ง่ายต่อการใช้งานดูวิวทั่วไป ดูนก หรือดูดาว ซึ่งไม่ใช้กำลังขยายสูง โดยทั่วไปจะพบเห็นใน ๒ ลักษณะคือ แบบสามขา (Tripod) และแบบด๊อบโซเนียน (Donsonian) ซึ่งใช้กับกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง
http://www.lesaproject.com/ 2. ขาตั้งชนิดอีเควทอเรียล (Equatorial Mount) เป็นขาตั้งซึ่งจะมีแกนเอียงขนานกับแกนของโลก เล็งไปยังตำแหน่งขั้วฟ้า (ใกล้ดาวเหนือ) ยังผลให้หมุนติดตามดาวได้ง่าย (เรามองเห็นดาวบนฟ้าเคลื่อนที่เนื่องจากโลกหมุนรอบแกนของตัวเอง) ขากล้องชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานดูดาว ที่ต้องใช้กำลังขยายสูง และงานถ่ายภาพดาราศาสตร์ แต่ไม่เหมาะสำหรับในงานส่องทางไกลทั่วไป เนื่องจากแกนของขากล้องต้องตรึงเอียงกับขั้วฟ้า ทำให้การกวาดกล้องไปตามขอบฟ้าทำได้ลำบาก นอกจากนั้นขาตั้งกล้องยังมีน้ำหนักมาก และราคาสูง
http://www.lesaproject.com/
|
||||||||||||
|